กรดไหลย้อน ป้องกันได้ ก่อนเรื้อรัง

Last updated: 13 ส.ค. 2565  |  312 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กรดไหลย้อน ป้องกันได้

กรดไหลย้อน ป้องกันได้ ก่อนเรื้อรัง
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) หมายถึง ภาวะที่เกิดจาก สิ่งที่ย้อนจากกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร หรืออาจเกิดจากด่าง หรือเป็นแก๊สก็เป็นได้ โดยอาจมี หรือ ไม่มีอาการของหลอดอาหารอักเสบ โรคกรดไหลย้อน หรือภาวะนี้ไม่ใช่โรคแปลกใหม่สำหรับคนไทย เป็นโรคที่พบมานานมากแล้ว และมีอัตราการพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน

สาเหตุของ โรคกรดไหลย้อน
  หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวบ่อยกว่าคนที่ไม่มีภาวะกรดไหลย้อน
  ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
  เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
  เกิดจากการรับรู้ความรู้สึกของหลอดอาหารไวกว่าปกติ

ไม่ใช่คนวัยทำงานเท่านั้นที่เสี่ยงกับ โรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน นี้ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ที่สูบบุหรี่ สตรีที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิด ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน อาทิ ยารักษาโรคกระดูกพรุนสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า สำหรับในเด็กนั้น สามารถพบได้ตั้งแต่วัยทารก จนถึงเด็กโต ซึ่งอาการที่พบบ่อย เช่น อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางราย อาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับได้

อาการหลักของ โรคกรดไหลย้อน
  อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ จากนั้นจึงลามขึ้นมาบริเวณ หน้าอก หรือ ลำคอ ซึ่งอาการจะชัดเจนมากขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนักเข้าไป
  อาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว เพราะมีกรด ซึ่งเป็นน้ำที่มีรสเปรี้ยว หรือรสขม ไหลย้อนขึ้นมายังปาก

เมื่อรักษาแล้วจะกลับมาเป็นอีกหรือเปล่า
โดยทั่วไป แพทย์จะให้ทานยาลดการหลั่งของกรด เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่ง จะมีโอกาสกลับมามีอาการได้อีก ดังนั้นการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะให้ยาในกลุ่มเดิม เป็นระยะๆ 4-8 สัปดาห์ หรือให้ยาตามอาการ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง อาจพิจารณาการตรวจเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้อง การตรวจความเป็นกรด ด่างในหลอดอาหาร หรือตรวจการทำงานของหลอดอาหาร

จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็น โรคกรดไหลย้อน?
กรดไหลย้อน ป้องกันได้ ก่อนเรื้อรัง สิ่งสำคัญและง่ายที่สุด คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตดังนี้
  กรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน แนะนำให้ลดน้ำหนัก
  หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มและอาหารที่มีรสจัด หรือกระตุ้นให้เกิดอาการ
  ระวังน้ำหนักร่างกายไม่ให้เกินมาตรฐาน โดยหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ควรเดินหรือขยับร่างกายหลังอาหาร และควรเข้านอนหลังรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมงเพื่อให้อาหารย่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อนเวลากลางคืน
  รับประทาน HASHI GRD เพื่อบำบัดและรักษาโรคกรดไหลย้อน ทุกระยะ โดยไม่ใช้ยา

โรคกรดไหลย้อน แม้จะไม่ร้ายแรงถึงชีวิต!!!
แต่ก็ส่งผลร้ายทางร่างกาย และคุณภาพชีวิตรวมถึงการทำงาน งานอดิเรกและการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าว หากปฏิบัติตัวเบื้องต้นแล้วยังมีอาการอยู่ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง ระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรังต่อไป

HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืด โดยไม่ใช้ยา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้