Last updated: 16 ส.ค. 2565 | 376 จำนวนผู้เข้าชม |
กรดไหลย้อน ปล่อยเรื้อรังอันตราย!!!
กรดไหลย้อน ถือเป็นโรคหนึ่งที่คนวัยทำงาน เริ่มได้ยินบ่อยมากขึ้นในยุคนี้ เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าทางปาก อาหารจะถูกเคี้ยว และกลืนเข้าหลอดอาหาร อาหารก็จะถูกบีบ ไล่ไปยังกระเพาะอาหาร ระหว่างรอยต่อ ของกระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร จะมีหูรูด ทำหน้าที่ปิดไม่ให้อาหาร หรือ กรดไหลย้อน กลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะ จะมีกรดออกมาจำนวนมาก เมื่ออาหารได้รับการย่อย แล้วก็จะถูกบีบไปยังลำไส้เล็ก แต่หากมีกรดไหลย้อน เข้าไปยังหลอดอาหาร ก็จะทำให้เกิดการอักเสบ ของหลอดอาหาร ส่งผลให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือแสบหน้าอก
ปัจจัยเสี่ยง โรคกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากความผิดปกติของหลายๆส่วน ในระบบทางเดินอาหาร อาทิ ทางกายภาพ เช่น มีหูรูดกระเพาะอาหารปิดไม่สนิท มีการบีบตัวของหลอดอาหาร ที่ผิดปกติไป มีการเลื่อนของหูรูดกระเพาะ ไปจากส่วนที่ควรจะเป็น แต่ปัจจัยที่เป็นตัวการ ส่งเสริมให้เกิดโรคนี้อันดับต้นๆ คือ พฤติกรรมของเรา เช่น รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ชอบอาหารรสจัด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เร่งรีบในการทานอาหาร
หากปล่อยไว้ไม่รีบดูแลรักษา จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งหลอดอาหาร เนื่องจากหลอดอาหาร ไม่สามารถทนทานต่อกรดได้มากนัก เมื่อมีการอักเสบบ่อยๆ อาจจะทำให้เซลล์ต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามภาวะนี้เกิดได้น้อย และ ไม่ใช่โรคร้ายแรงถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต สิ่งที่ต้องเผชิญจริงๆจาก โรคกรดไหลย้อน คือ เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มีอาการจุก แน่น อึดอัด แน่นหน้าอกมาก จนเกิดความกังวล นอนไม่หลับ เพราะอาการกรดไหลย้อน จะมีเยอะขึ้นเมื่อนอน ส่งผลให้เกิดการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ โรคกรดไหลย้อนจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้ายๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร จึงทำให้ใครหลายคนเข้าใจผิดว่าตนเองอาจจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร และไปซื้อยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารมารับประทานเอง ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ตรงจุด
กรดไหลย้อน รักษาได้อย่างไร
เมื่อสงสัยว่าจะเป็น โรคกรดไหลย้อน อันดับแรก แพทย์อาจจะต้องซักถาม เพราะโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ไม่ใช่แค่เรอวันเดียว คลื่นไส้วันเดียว แล้วจะเป็น โรคกรดไหลย้อน หากวินิจฉัยแล้ว ว่าอาการแสดงเสี่ยงต่อ โรคกรดไหลย้อน แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยา ปรับการหลั่งน้ำย่อยก่อน 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ การรับประทานยา เป็นทั้งการรักษาและวินิจฉัย เพราะปกติกรดไหลย้อน มักจะดีขึ้นด้วยการรับประทานยา หากไม่ดีขึ้น อาจจะทำการรักษาขั้นตอนต่อไป เช่น การใส่สายขนาดเล็ก คล้ายเส้นลวดทางจมูกไปที่หลอดอาหาร เพื่อวัดกรด-ด่าง ที่ไหลย้อนขึ้นมายังบริเวณหลอดอาหาร และบันทึกเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เครื่องจะสามารถระบุได้ว่า มีภาวะกรดไหลย้อน หรือไม่ และทำให้ทราบว่าเกิดกรดไหลย้อนในหลอดอาหารช่วงไหน และการดูแลรักษา กรดไหลย้อน ทั้ง 3 ระยะ ด้วย นวัตกรรมใหม่ของ HASHI GRD แบบไม่ใช้ยา
กลุ่มเสี่ยง ของโรคกรดไหลย้อน
สูงอายุ
จะมีโอกาสเกิด กรดไหลย้อน สูงขึ้น เนื่องจาก หูรูดกระเพาะอาหารจะหย่อนมากกว่าปกติ และเยื่อบุต่างๆ เสื่อมสภาพลง น้ำลายลดลง หรือต้องรับประทานยาต่างๆ หลายชนิดที่มีผลข้างเคียง ทำให้น้ำลายลดลงหรือกินยาบางอย่างที่ทำให้หูรูดกระเพาะปิดไม่สนิท ก็มีอาการของโรคกรดไหลย้อนตามมา
คนอ้วน
คนที่อายุน้อยแต่มีน้ำหนักตัวที่มากขึ้น และการรับประทานชา กาแฟ ของมัน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการหลั่งกรด ทั้งนี้ เมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น หูรูดกระเพาะก็อาจปิดไม่สนิท
ลดปัจจจัยเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน ได้อย่างไร
ห้ามรับประทานอาหารแล้วนอนทันที
ออกกำลัง ลดน้ำหนัก
นอนหัวสูง
กิน นอน ให้เป็นเวลา ห้ามนอนดึก
HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืด โดยไม่ใช้ยา