ผายลม ลมในท้องเยอะ สัญญาณเตือน โรคระบบทางเดินอาหาร

Last updated: 3 ต.ค. 2565  |  417 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผายลม ลมในท้องเยอะ

ผายลม ลมในท้องเยอะ สัญญาณเตือน โรคระบบทางเดินอาหาร
ปัจจุบันนี้การใช้ชีวิตของคนเรา เปลี่ยนไปอย่างมาก จากเมื่อก่อน ทั้งความเครียด อาหารการกิน การออกกำลังกาย รวมถึงไลฟ์สไตล์และความเร่งรีบในแต่ละวัน โรคในระบบทางเดินอาหาร จึงเป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้น

ระบบทางเดินอาหารของคนเรา นับตั้งแต่ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก รวมถึงอวัยวะที่ช่วยผลิตน้ำย่อย ได้แก่ ตับและถุงน้ำดี ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้น กับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ระบบทางเดินอาหาร ก็จะเริ่มแสดงอาการต่างๆ แม้อาการแสดงออกจะเป็นเพียง อาการท้องเฟ้อ เรอ ผายลม ซึ่งไม่ได้รุนแรง แต่ก็อาจรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน และสร้างความกังวลใจ หรืออาจเป็น สัญญาณเตือนโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ พยาธิในทางเดินอาหาร อาการแสบบริเวณหน้าอก ซึ่งอาจเป็นอาการของ โรคกรดไหลย้อน หรือโรคร้ายแรงอย่าง มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้

ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลมในท้องเยอะ คืออะไร
ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลมในท้องเยอะ คืออาการของ ภาวะอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ซึ่งพบบ่อยมากถึง 25% ของคนทั่วไป จะทำให้รู้สึกปวดท้องช่วงบน เนื่องจากระบบการย่อยไม่ปกติ ส่งผลให้ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง และ อึดอัด ไม่สบายตัว โดยอาการมักดีขึ้นและหายได้เอง หรือบางคนอาจมี อาการเรื้อรัง จนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

สาเหตุของท้องอืด ท้องเฟ้อ ลมในท้องเยอะ ผายลมบ่อย
  โรคประจำตัว
ภาวะอาหารไม่ย่อย อาจเกิดจากผลข้างเคียงของโรคเรื้อรัง เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะเป็นแผล การติดเชื้อพยาธิ มะเร็งทางเดินอาหารหรือลำไส้ โรคลำไส้แปรปรวน หรือเป็นการทำงานที่ ผิดปกติของลำไส้ นอกจากนี้โรคทางร่างกายอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องอืด ร่วมด้วย เช่น โรคไทรอยด์ และ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  อาหาร
อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รู้สึกมี ลมในกระเพาะอาหาร จนอึดอัดไม่สบายตัว อาจเกิดจากอาหาร เช่น ผักผลไม้ที่มีเส้นใยมาก หากรับประทานมากเกินอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ นอกจากนี้ อาหารเผ็ด แอลกอฮอล์ อาหารไขมันสูง นมและกาแฟ และพฤติกรรมการรับประทาน ก็มีผลทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร เร็วเกินไป เคี้ยวน้อยและรับประทานอาหารมากเกินไป
  ยา
การรับประทานยาบางประเภท อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคือง ของทางเดินอาหาร เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด และ ยาปฏิชีวนะ บางชนิด

อาการเรอ
เรอ เป็นการขับลม จากกระเพาะอาหาร ผ่านหลอดอาหารออกมาทางปาก อาจมีแค่เสียง หรือเรอออกมาพร้อมกลิ่นอาหาร เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเร็ว และ มากเกินจำเป็น เมื่อเรอออกมา อาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้น แต่หากเรอบ่อยๆ อาจเป็น สัญญาณเตือนโรคระบบทางเดินอาหาร บางชนิด โดยเฉพาะเรอเปรี้ยว ขมปากและมีอาการ แสบร้อนกลางอก อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ โรคกรดไหลย้อน ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกช่วงวัยและกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น มีน้ำหนักมาก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่ดื่มสุรา หรือ สูบบุหรี่เป็นประจำ

สาเหตุของอาการเรอ
เกิดจาก มีลมในกระเพาะอาหารมาก ทำให้กระเพาะอาหารพองตัว และขับลมออกมา ซึ่งการเกิดลม หรือแก๊สในกระเพาะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
 กลืนลมหรืออากาศโดยไม่รู้ตัว เช่น รับประทานอาหาร หรือ เครื่องดื่มเร็วเกินไป พูดคุยระหว่างมื้ออาหาร การสูบบุหรี่
 รับประทานอาหาร หรือ เครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น อาหารไขมันและคาร์โบรไฮเดรทสูง ยีสต์ ถั่วชนิดต่างๆ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
 ยาบางชนิดหากใช้ในปริมาณมาก อาจส่งผลให้กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ ทำให้เรอบ่อย เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยาระบาย ยาแก้ปวด
 โรคประจำตัว ทำให้ เรอบ่อย หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอก จุกแน่นลิ้นปี่ อาจเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะ นอกจากนี้อาการเรอบ่อยอาจมาจากโรคอื่นๆ เช่น โรคตับอ่อน ที่ไม่สามารถผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร
 ความเครียด ภาวะความกดดันสูง ความวิตกกังวล หรือปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ

ตด หรือ ผายลมบ่อย
ตด หรือผายลมบ่อย เป็นการปล่อยแก๊สในลำไส้ ออกทางทวารหนัก ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการสะสมในระบบย่อย อาจมีเฉพาะเสียง กลิ่น หรือทั้งสองอย่าง ทางการแพทย์ระบุว่ามนุษย์ต้องตด เฉลี่ยวันละ 10-20 ครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นการระบายแก๊สที่สะสมอยู่ในร่างกาย ที่อาจส่งผลให้ท้องอืด แต่หากมีกลิ่นและเสียงผิดปกติ หรือเกิดขึ้นพร้อมกับอาการทางเดินอาหารอื่นๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ระบบการย่อยมีความผิดปกติ หรืออาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคลำไส้อักเสบ

สาเหตุของการผายลม ( ตด )
 อาหารบางชนิดที่ทำให้เกิดแก๊สมาก เช่น อาหารโปรตีนสูง เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว น้ำอัดลมและแอลกอฮอล์ สำหรับอาหารที่ทำให้ตดมีกลิ่นรุนแรง เช่น คะน้า กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่งและผักที่มีกลิ่นแรง
 การกลืนอากาศระหว่างการเคี้ยวอาหาร หายใจ สูบบุหรี่
 โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคลำไส้อักเสบ
 อาหารไม่ย่อย
  รับประทานอาหารในปริมาณมากและเร็วเกินไป

ลมในท้องเยอะ ตดบ่อย ทำอย่างไร และวิธีป้องกันปัญหาท้องเฟ้อ เรอบ่อย แน่นท้อง
ทั้งปัญหาท้องเฟ้อ เรอ ตด เกิดจากสาเหตุคล้ายคลึงกัน การป้องกันจึงสามารถทำได้คล้าย ๆ กัน ดังนี้
 หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดกรดและแก๊ส เช่น อาหารไขมันสูง ย่อยยาก ถั่ว และผักตระกูลกะหล่ำ รวมถึงกาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
 รับประทานอาหารแต่ละครั้งไม่มากเกินไป
 ลดการพูดคุยในระหว่างมื้ออาหาร
 หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ หรืออาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้
 ไม่รีบรับประทานอาหารและเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
 หลีกเลี่ยงการล้มตัวลงนอน หรืออยู่ในท่าก้มงอตัว หรือรัดเข็มขัดแน่นเกินไป หลังรับประทานอาหาร
 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเฉพาะหากต้องทำงานแบบนั่งโต๊ะเป็นประจำ
 งดสูบบุหรี่

HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้