Last updated: 21 ต.ค. 2565 | 440 จำนวนผู้เข้าชม |
กรดไหลย้อน เรื้อรั้ง อาจเกิดโรคอะไรตามมา
กรดไหลย้อน ( GERD ) เกิดจากกรด และสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร เนื่องจากหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการระคายเคืองในหลอดอาหาร
อาการกรดไหลย้อน ที่พบบ่อย
แสบร้อน บริเวณกลางหน้าอก มักเป็นหลังกินอาหาร โดยเฉพาะมื้อใหญ่ๆ และพบบ่อยช่วงกลางคืน
เจ็บแน่นหน้าอก
กลืนลำบาก หรือ จุกคอ
รู้สึกมีอาหาร หรือ กรดเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาในลำคอ
ภาวะที่ทำให้ กรดไหลย้อน เป็นมากขึ้น
น้ำหนักเกิน หรือ ภาวะอ้วน เกิดจากแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น
ระหว่างตั้งครรภ์
กระเพาะอาหารเคลื่อนตัวช้าผิดปกติ
โรคบางอย่าง เช่น SCLERODERMA จะทำให้การบีบตัวของหลอดอาหาร น้อยลง
ปัจจัยที่กระตุ้น ภาวะกรดไหลย้อน
สูบบุหรี่ แอลกอฮอล์
กินอาหารมื้อใหญ่ หรือ กินตอนกลางคืน
ชา กาแฟ อาหารทอด อาหารมัน
ยาบางอย่าง เช่น aspirin, calcium channel blocker, antihistamine, ยานอนหลับ
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อเป็นกรดไหลย้อน เนื่องจากจะกระตุ้น ภาวะกรดไหลย้อน
อาหารมัน และ อาหารรสจัด
ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Chocolate, peppermint
ภาวะแทรกซ้อน หรือโรคที่เกิดจากการเป็น กรดไหลย้อน เรื้อรัง
หลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis)
หลอดอาหารตีบ (Esophageal stricture) เกิดจากการอักเสบ เป็นเวลานาน ทำให้มีอาการกลืนลำบาก
Barrett’s esophagus เกิดจากเซลล์เยื่อบุในหลอดอาหา รมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีโอกาสกลายเป็น มะเร็งหลอดอาหาร ในอนาคต
ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ เช่น เสียงแหบ หอบหืด กล่องเสียงอักเสบ ปอดบวม
การวินิจฉัย
EGD โดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้นและอาจพิจารณาตัดชิ้นเนื้อมาตรวจถ้ามีสิ่งผิดปกติ
Upper GI series โดยการเอ็กซเรย์ดูความผิดปกติของหลอดอาหาร
Esophageal manometry ดูการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร และวัดการบีบตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย
Esophageal pH and impedance monitoring เป็นการวัดระดับความเป็นกรดในหลอดอาหารในช่วงระหว่างทานอาหาร หรือ ตอนนอน
Bravo wireless esophageal pH monitoring โดยการติดแคปซูลขนาดเล็กไว้ที่หลอดอาหาร และวัดค่าความเป็นกรดในระยะเวลา 48 ชม
การป้องกัน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ทานแต่พอดี หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่
งดทาน 2-3 ชม ก่อนนอน
งดบุหรี่ ชา กาแฟ แอลกอฮอล์
ลดน้ำหนัก นอนหัวสูง พยายามใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย ไม่รัดแน่นบริเวณท้อง
HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา