Last updated: 9 พ.ย. 2565 | 482 จำนวนผู้เข้าชม |
กรดไหลย้อนขึ้นคอ ปล่อยไว้นานอาจสายเกินแก้ รักษาได้มั้ย
“กรดไหลย้อนขึ้นคอ” (Laryngopharyngeal Reflux : LPR) เป็นอีกหนึ่งปัญหาต้นๆ ที่กวนใจคนในยุคนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน ที่ใช้ชีวิตบนความกดดัน เร่งรีบ ไม่ใส่ใจ พฤติกรรมการกิน เท่าที่ควร จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ กรดไหลย้อนขึ้นคอ ได้ บางคนอาจสงสัยว่า แล้วมันต่างจาก กรดไหลย้อน ทั่วไปอย่างไร อันตรายมากกว่ากันหรือไม่ ตามมาหาคำตอบได้จากบทความนี้เลย
กรดไหลย้อนขึ้นคอ เป็นยังไง
เมื่อเราเคี้ยวอาหาร และ กลืนลงคอไปแล้ว อาหารจะเดินทางผ่าน หลอดอาหาร ไปสู่ กระเพาะอาหาร โดยที่ปลายสุดของ หลอดอาหาร จะมีหูรูด หลอดอาหารส่วนล่าง อยู่ ทำหน้าที่เปิดให้อาหาร เคลื่อนผ่านไปที่ กระเพาะอาหาร และปิดเพื่อไม่ให้ กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อน กลับมา เมื่อหูรูดส่วนนี้ปิดไม่สนิท หรือ ทำงานผิดปกติ จะทำให้ กรดในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร และ ลำคอ ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณ หลอดอาหาร คอ และกล่องเสียงได้รับความเสียหายจนเกิดการอักเสบได้
ผู้ใหญ่ หรือเด็ก เสี่ยง กรดไหลย้อนขึ้นคอ มากกว่า
นั้นเป็นปัญหาปกติ สำหรับทารก เนื่องจากทารกนั้นมี หลอดอาหารสั้น และ กล้ามเนื้อหูรูดยังพัฒนาไม่เต็มที่ ประกอบกับทารก นอนเกือบตลอดเวลา จึงเสี่ยงต่อ ภาวะกรดไหลย้อนขึ้นคอ ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่
อาการ กรดไหลย้อนขึ้นคอ
สำหรับอาการของภาวะ กรดไหลย้อนขึ้นคอ นั้นจะทำให้รู้สึก ระคายเคือง บริเวณคอ รวมถึงอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ ได้อีกหลายประการ โดยอาการของแต่ละคน อาจไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
● แสบร้อนบริเวณคอ
● รู้สึกเหมือนมีก้อนอยู่ที่คอ
● กลืนลำบาก
● เสียงแหบ
● มีเสมหะ
● กล่องเสียงอักเสบ บวม แดง ระคายเคือง
● ไอเรื้อรัง
นอกจากนี้ หากใครเป็น กรดไหลย้อนขึ้นคอ แล้วปล่อยไว้ไม่รักษา ภาวะนี้อาจ ส่งผลกระทบต่อปอด รวมทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคมะเร็ง ได้อีกหลายชนิด เช่น มะเร็งหลอดอาหาร และ มะเร็งกล่องเสียง เป็นต้น
กรดไหลย้อนขึ้นคอ ต่างจากกรดไหลย้อนทั่วไป ยังไง
กรดไหลย้อนทั่วไป กับ กรดไหลย้อนขึ้นคอ นั้นมีอาการคล้ายกัน กล่าวคือ
ภาวะกรดไหลย้อน
คือ การที่ กรดในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร หากกรดไหลย้อนขึ้นมาถึงลำคอ หรือ กล่องเสียง ก็จะเรียกว่า ภาวะกรดไหลย้อนขึ้นคอ ซึ่งกรดไหลย้อนทั้ง 2 ชนิดนี้อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้อีกด้วย
นอกจากนี้ กรดไหลย้อนขึ้นคอ มีอีกชื่อหนึ่งว่า “กรดไหลย้อนเงียบ (Silent Reflux)” สาเหตุเพราะผู้ป่วยบางราย อาจไม่มีอาการเด่นของ กรดไหลย้อน อย่างแสบร้อนกลางอก จึงทำให้วินิจฉัยได้ยาก
กรดไหลย้อนขึ้นคอ ป้องกันได้หรือเปล่า
อาการกรดไหลย้อนขึ้นคอ เราสามารถปรับนิสัยการกิน และ พฤติกรรมบางอย่าง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด กรดไหลย้อนขึ้นคอได้ ตัวอย่างเช่น
● ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
● ไม่ทานอาหารก่อนนอน ควรทานเสร็จอย่างน้อย 2 ชั่วโมงค่อยเข้านอน
● หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด อาหารมัน และอาหารที่มีกรดสูง
● หลีกเลี่ยงการทานช็อกโกแลต รวมถึงมินต์ และอาหารที่มีรสมินต์
● หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โซดา เป็นต้น
● ลดความเครียด พยายามอย่าเครียดเกินไป
● ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป
● งดดื่มแอลกอฮอล์
● เลิกสูบบุหรี่
● HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา
ปัญหาสุขภาพ เกี่ยวกับ ระบบทางเดินอาหาร นั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากเราไม่ระวัง หรือ ไม่ใส่ใจพฤติกรรมการกินของตัวเอง นอกจากจะเกิดขึ้นได้ง่ายแล้ว กรดไหลย้อน ยังอาจนำไปสู่ โรคร้ายแรง อย่าง มะเร็ง ได้อีกด้วย ดังนั้นอย่าลืมนำคำแนะนำ จากบทความนี้ไปปรับใช้ เพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดี ทานอาหารอร่อย ห่างไกลโรค กรดไหลย้อนขึ้นคอ กันด้วย
HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา