กรดไหลย้อน ที่ทุกคนควรรู้

Last updated: 8 ก.ค. 2565  |  387 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กรดไหลย้อนที่ควรรู้

กรดไหลย้อน ที่ทุกคนควรรู้
มีผู้คนมากมายที่ต้องทนทรมานกับโรคกรดไหลย้อน วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับกรดไหลย้อนที่ทุกคนควรรู้มาฝาก

อาการของกรดไหลย้อน

1. อาการเรอ คลื่นไส้ หรือมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่อกหรือคอ เกิดจากความดันที่ช่องท้องเพิ่มมากขึ้น สาเหตุเกิดจาก
กินอาหารมากเกินไปในแต่ละมื้อ
อาหารมีส่วนที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนอย่างมาก
- อาหารประเภทของมันๆ ที่ปรุงด้วยการผัดและทอดทุกชนิดจะย่อยยาก ทำให้ท้องอืดได้ง่าย
- น้ำเต้าหู้และน้ำอัดลม จะทำให้เกิดแก๊สในช่องท้องมากขึ้น มากกว่าปกติที่ควรเป็น
- ชา กาแฟ จะทำให้กล้ามเนื้อหูรูด ระหว่างกระเพาะ และหลอดอาหารส่วนปลายหย่อนลง
- หากอยากดื่มนม ควรดื่มเฉพาะนมที่ไร้ไขมัน (FAT=0%) ส่วนไข่ ควรกินเฉพาะไข่ขาว เนื่องจากไขมันในนม หรือไข่แดงนั้นย่อยยาก จึงทำให้การเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารช้าลง
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือเกินค่าปกติ
ท้องผูก ทำให้ต้องเบ่งเวลาถ่าย ผลตามมาคือ ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น อาจต้องกินยาถ่ายช่วย ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ควรแก้ที่ต้นเหตุโดยดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น ดื่มน้อยแต่บ่อยๆ และกินผักผลไม้ ที่มีกากช่วยย่อยให้มากขึ้นก็จะช่วยในเรื่องขับถ่ายได้เป็นอย่างดี
ขาดการออกกำลังกาย จากการศึกษาพบว่าคนที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิก จะทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนตัวได้ดี และยังลดอาการท้องอืด จุก เสียด แน่นท้อง นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือด ปอด หัวใจทำงานดีขึ้น ลดระดับไขมันในเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
ความดันโลหิตสูง โดยออกกำลังกายต่อเนื่องวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เช่น วิ่ง เดินเร็ว ขึ้นลงบันได ว่ายน้ำ ขี่จักรยานฝืดแบบปรับน้ำหนักใน FITNESS เตะฟุตบอล เล่นเทนนิส แบดมินตัน หรือบาสเกตบอล จะช่วยในเรื่องกรดไหลย้อนได้ดี

2. เสียงแหบ เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาไปสัมผัสสายเสียงที่อยู่ทางด้านหน้า ทำให้สายเสียงบวม ปิดไม่สนิท เกิดลมรั่ว ทำให้มีเสียงแหบได้ สาเหตุที่มีเสียงแหบตอนเช้า เกิดจากเวลาเรานอน กรดจะไหลได้ง่ายมากกว่าเวลาที่เรานั่งหรือยืน สายเสียงจึงถูกกรดสัมผัสมากกว่าช่วงอื่นๆ ของวัน
ทำให้ขณะตื่นมาตอนเช้า มีเสียงแหบได้ง่าย


3. ไอเรื้อรัง เกิดจากกรดไหลย้อนลงไปในหลอดลม ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ที่แย่กว่านั้น บางรายอาจเกิดอาการหอบหืด โดยหลอดลมจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ของฉุน ฝุ่น ควัน อากาศที่ เปลี่ยนแปลงมากผิดปกติ อาการไอหลังกินอาหารเกิดจากอาหารทำให้ความดัน
ในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น จนกรดไหลย้อนลงไปในหลอดลมได้ ส่วนการที่ไอตอนกลางคืน หรือก่อนนอนมักเกิดจากดังนี้
ห้องนอนอาจรก มีฝุ่นมาก เวลาสูดหายใจเข้าไป จะไปกระตุ้นภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ทำให้ไอกลางคืนหรือไอช่วงเช้า คล้ายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ จึงควรจัดห้องนอนให้โล่งและสะอาด
อากาศในห้องนอนอาจเย็นเกินไป ควรพยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น โดยเฉพาะแอร์ พัดลมเป่า ถ้าต้องการเปิดแอร์ ควรตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้อากาศเย็นจนเกินไป ในกรณีที่ใช้พัดลมไม่ควรเปิดเบอร์แรงสุด และควรให้พัดลมส่ายไปมา
ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง ควรนอนอยู่ห่างจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมพอสมควร ไม่ควรเปิดแอร์หรือพัดลมจ่อ ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอ เช่น นอนห่มผ้า ถ้าจะให้ดี ควรใส่ถุงเท้า หรือผ้าพันคอเวลานอนด้วย
ในกรณีที่ไม่ชอบห่มผ้าหรือห่มแล้วชอบสะบัดหลุดโดยไม่รู้ตัว ควรใส่เสื้อหนาๆ หรือใส่เสื้อ 2 ชั้น และกางเกงขายาวเข้านอน

4. อาการที่รู้สึกคล้ายมีก้อนแปลกๆในคอหรือแน่นคอ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ หรือกลืนลำบาก คล้ายมีสิ่งแปลกปลอมในคอ เกิดจากกรดไหลย้อนไปสัมผัสกับกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว และเกิดความรู้สึกดังกล่าว การกินยาคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน อาจช่วยให้อาการดังกล่าวลดน้อยลง
บางรายอาจมีอาการกลืนเจ็บ เจ็บคอ แสบคอ หรือปาก หรือแสบลิ้นได้

5. การที่มีเสมหะอยู่ในคอตลอด เกิดจากการที่กรดไหลย้อนขึ้นมา สัมผัสกับต่อมสร้างเสมหะในลำคอ และกระตุ้นทำให้ต่อมดังกล่าวทำงานมากขึ้น นอกจากนี้การที่กรดไปกระตุ้นเส้นประสาทในคอ อาจทำให้มีอาการคันคอ แสบคอ เจ็บคอ หรือระคายคอได้

6. อาการเจ็บหน้าอก เกิดจากกรดไหลย้อนขึ้นมาผ่านหลอดอาหารที่อยู่ในช่องอก และกระตุ้นเส้นประสาทในหลอดอาหารทำให้มีอาการดังกล่าวได้ และเมื่อกรดไหลลงไปในหลอดลมและปอด อาจทำให้มีการอักเสบของปอดเป็นๆ หายๆ ได้

7. อาการไอ สำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน เกิดจากกรดไหลลงไปในหลอดลม ทำให้หลอดลมอักเสบ และมีการหดตัวของหลอดลม ที่มักเป็นในเวลากลางคืน เนื่องจากเวลาเรานอน กรดจะไหลได้ง่ายกว่าเวลาที่เรานั่งหรือยืน

8. การที่กรดไหลย้อนออกไปนอกหลอดอาหาร อาจไปถึงส่วนต่างๆดังนี้
เยื่อบุจมูกทางด้านบน ทำให้มีอาการคัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือมีเสมหะไหลลงคอได้ หรือทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ของจมูกอยู่แล้ว มีอาการแย่ลงได้
ถ้ากรดขึ้นไปสูงถึงรูเปิดของหูชั้นกลางที่อยู่ที่โพรงหลังจมูก อาจทำให้รูเปิดดังกล่าวบวม ทำให้ท่อยูสเตเชี่ยนที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูกทำหน้าที่ผิดปกติไป เกิดหูอื้อ เสียงดังในหูเป็น ๆ หาย ๆ หรือมีอาการปวดหูได้
• ถ้ากรดไหลเข้าไปในช่องปาก อาจกระตุ้นต่อมสร้างน้ำลาย ทำให้มีน้ำลายมากผิดปกติ หรือกรดไปกัดกร่อนฟัน ทำให้เกิดฟันผุหรือเสียวฟันได้ การที่กรดไหลย้อนขึ้นมา ทำให้พาเอากลิ่นอาหารในกระเพาะอาหารขึ้นมาด้วย จึงอาจเป็นสาเหตุของการมีกลิ่นปากได้

ทั้งนี้อาการจะดีขึ้นเร็วหรือช้า อยู่ที่การปฏิบัติตัวของผู้เป็นกรดไหลย้อนเป้นสำคัญ ต่อให้เรารักษาจนหายแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้จะหายขาด เพราะอาจมีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้

HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืด โดยไม่ใช้ยา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้