Last updated: 18 ส.ค. 2565 | 321 จำนวนผู้เข้าชม |
กินยังไง เมื่อเป็นกรดไหลย้อน?
เมื่อการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามยุคตามสมัย ต้องตื่นแต่เช้าไปทำงาน กลับบ้านดึกดื่น กินอาหารเย็นแล้วก็เข้านอนเลย เนื่องจากความอ่อนเพลีย อ่อนล้า เพื่อจะได้มีแรงตื่นขึ้นไปทำงานในตอนเช้า สิ่งเหล่านี้ คือพฤติกรรมหลักๆ ที่ช่วยกระตุ้นทำให้เกิด โรคกรดไหลย้อน ได้โดยง่าย
โรคกรดไหลย้อนมักเกิดจาก?
โดยจากสาเหตุของโรคนี้ มักเกิดจากการที่ กล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลาย ของหลอดอาหาร ที่เชื่อมต่อกับกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติไป เกิดความหย่อนยาน หรืออาจเสื่อมสภาพ ทำให้ไม่สามารถกั้นน้ำย่อย กรด หรือ อาหารต่างๆ ในกระเพาะ ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ ทำให้เกิดอาการ แสบร้อนกลางหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก ได้ บางคนอาจรู้สึก จุกบริเวณลำคอ นอนราบไม่ได้ รวมถึงมีอาการ เรอเปรี้ยว และขมที่คอร่วมด้วย
นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่มากเกินไป เช่น การกินบุฟเฟ่ต์ ก็อาจทำให้เกิดโรคนี้ ได้เช่นกัน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะกินในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพื่อให้รู้สึกคุ้มค่า ทำให้กระเพาะขยายตัวมากขึ้น จนเกิดแรงดันสูง จึงมีแนวโน้มที่ทำให้ กรดไหลย้อน ขึ้นมาได้
วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มจากการเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อแบ่งเบาการทำงานของ กระเพาะอาหาร รวมถึง เลี่ยงอาหารมื้อหนักๆ เพื่อไม่ให้กระเพาะทำงานหนักจนเกินไป นอกจากนั้นแล้ว หลังมื้ออาหาร ควรเว้นระยะเวลา 3-4 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน เพื่อให้อาหารได้เคลื่อนตัว จากกระเพาะไปสู่ลำไส้ เพื่อดูดซึมตามกระบวนการย่อยอาหาร ต่อไป
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และไม่ควรกินในปริมาณมากๆ มี 3 ชนิดด้วยกัน
อาหารที่มีไขมันสูง
ไม่ว่าจะเป็นของทอดของมันต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารที่มีไขมัน เช่น นม เนย ชีส คุกกี้ เป็นต้น เพราะอาหารที่มีไขมันสูงจะใช้เวลาย่อยในกระเพาะนาน เมื่ออยู่ในกระเพาะนาน จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดกรดมากขึ้น และไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารได้
อาหารที่ทำให้เกิดกรดและแก๊สในกระเพาะ
เช่น ของหมักดอง อาหารรสเค็มจัด เปรี้ยวจัด รวมถึงอาหารที่ทำจากถั่ว เพราะอาหารกลุ่มนี้จะไปเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาจส่งผลให้หูรูดมีช่องว่างเปิดออกมา ทำให้น้ำย่อยหรือกรดไหลย้อนขึ้นมา
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต โกโก้ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะจะไปกระตุ้นให้กรดหลั่งมากขึ้น ทำให้หูรูดปิดตัวผิดปกติได้
วิธีป้องกันและรักษา โรคกรดไหลย้อน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้
1. ลดน้ำหนัก ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วน เพิ่มโอกาสการเป็น โรคกรดไหลย้อน การลดน้ำหนัก จะช่วยป้องกัน และช่วยให้การรักษาเห็นผลดียิ่งขึ้น
2. แบ่งกินอาหารเป็นมื้อเล็กหลายๆ มื้อ เช่น อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และ อาหารว่าง 2 มื้อ ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลง
3. กินอาหารมื้อสุดท้ายก่อนเข้านอน อย่างน้อย 3 ชั่วโมง
4. กินผักผลไม้ที่มีใยอาหารมากขึ้น เลือกผักที่หลากหลาย ผลไม้รสไม่หวานจัด
5. งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6. หลีกเลี่ยงอาหาร ที่กระตุ้นให้เกิด โรคกรดไหลย้อน ได้แก่
อาหารที่มีความเป็นกรดสูง ได้แก่ น้ำอัดลม อาหารและเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เลือกดื่มน้ำเปล่าและผลไม้ไม่เปรี้ยว เช่น กล้วย มะละกอ ฝรั่ง แคนตาลูป
อาหารรสจัด อาหารเผ็ด อาหารที่มีรสเค็ม เลือกกินอาหารรสอ่อน ไม่ปรุงรสเพิ่ม
อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เลือกกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไก่ ไข่ เต้าหู้
อาหารอื่นๆ เช่น หัวหอม กระเทียม ช็อคโกแลต มิ้นท์
HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา