Last updated: 12 ม.ค. 2566 | 404 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคกรดไหลย้อน ระยะสั้น และแบบเรื้องรัง ต่างกันยังไง?
หากพูดถึงความเข้าใจ เกี่ยวกับ โรคกรดไหลย้อน จะมีสักกี่คน ที่จะรู้ลึกถึงระยะต่างๆของ โรคกรดไหลย้อน ที่อาจเกิดได้กับทุกคนทุกวัย ถ้าคุณไม่ได้รับการรักษา อย่างเหมาะสม อาจมีความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ตาม HASHI GRD มาดูความรุนแรง 4 ระยะ ของโรคกรดไหลย้อน มีอาการแตกต่างกันอย่างไร และควรเริ่มรักษาตรงจุดไหนก่อน
ระยะไม่รุนแรง ( Mild )
เริ่มจากมีอาการ เสียดท้องเล็กน้อย แสบหน้าอก และ เรอ น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง ส่วนใหญ่ทาน ยาลดกรด ก็หาย แต่ถ้าให้ดีควรเลี่ยงอาหาร จำพวกที่มีรสเผ็ด หรือ มีไขมัน กาแฟ และ แอลกอฮอล์ ซึ่งห้ามทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง และ ควรหนุนศีรษะ ให้สูง 6 นิ้ว ขณะ นอนหลับ ก็จะช่วยป้องกันได้
ระยะรุนแรงปานกลาง ( Moderate )
ความถี่ ของอาการต่างๆ จากระยะที่ 1 เป็นบ่อยขึ้นในหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากหลอดอาหาร ส่วนล่างเกิดการอักเสบ ที่สำคัญ ต้องรีบรักษา ด้วยยาจำพวก ฮีสตามีน ทุกวัน เพื่อช่วยต้าน การหลั่งกรด
ระยะรุนแรงมาก ( Severe )
ผู้ป่วยระยะนี้ ประมาณ 15% จะมี อาการแสบหน้าอก เรอเปรี้ยว เสียงแหบ ไอเรื้อรัง และ เกิดการอักเสบอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะบำบัดด้วย ฮีสตามีน มากกว่า 2 ครั้งต่อวัน ก็อาจควบคุมอาการไม่ได้ จึงจำเป็นต้องส่องกล้อง วัดค่า pH และวัดขนาด หลอดอาหาร เพื่อวางแผนการรักษา ต่อไป
ระยะเรื้อรัง ( Complications of GERD )
ความรุนแรง ของระยะสุดท้ายนี้ พบว่า ผู้ป่วยมากกว่า 10% จะไม่สามารถควบคุมอาการ ของโรคได้ จนเกิดเป็น ภาวะแทรกซ้อน และ กลายเป็นโรคร้าย ในที่สุด ได้แก่ หลอดเลือดตีบตัน, เซลล์เยื่อบุหลอดอาหารผิดปกติ และ มะเร็งหลอดอาหาร ซึ่งต้องรีบรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ถึงแม้ว่า “โรคกรดไหลย้อน” จะเป็นโรคเรื้อรัง และอาจรักษาไม่หาย แต่ถ้าได้รับการรักษา อย่างเหมาะสม ตามระยะของโรค ก็อาจ ช่วยประคองอาการ และ ยับยั้งการลุกลามของโรคได้
แต่ถ้าคุณ อยากลดความเสี่ยง จากโรคกรดไหลย้อน ในระยะยาว การเสริมด้วยอาหารเสริม ที่มีวิตามิน และ แร่ธาตุ อย่างครบถ้วน ก็น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีไม่น้อย สำหรับผู้ที่อาจขาดสารอาหาร เพราะการป้องกันที่ต้นตอ ย่อมดีกว่าการแก้ไขที่ปลายเหตุ นั่นเอง
HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา